วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พิธีมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม กรณีฉุกเฉิน

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี จัดพิธีมอบเงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน  ที่ตำบลสามพร้าวอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยเป็นผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากกรณีถูกเพลิงไหม้ที่อยู่อาศัย  มีผู้ประสบอัคคีภัยเข้ารับเงินสงเคราะห์ฯ จำนวน 11 ราย รายละ 2,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสบความเดือดร้อนนำเงินไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์กับตนเองและครอบครัวให้มากที่สุดเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเบื้องต้น


งานลอยกระทง

เมื่อวันพุธที่5พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้จัดงาน บูชารอยพระชินสีห์ ประเพณีลอยกระทง" ประจำปีการศึกษา 2557 ณ ลานศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
โดยภายในงานมาการประกวดนางนพมาศ และการออกบูท ของนักศึกษา และภายในงานยังมีกิจกรรมจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ได้จัดทำบูทชมรมสื่อสร้างสรรค์ฯ โดยมีการนำละครเวทีนิเทศศาสตร์ครั้งที่6 ไปโปรโมทในวันงานด้ บรรยากาศทั่วไปภายในงานเป็นไปด้วยความสนุกสนาน


วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทำไทยให้สะอาด



โดยกิจกรรม “ร่วมใจ ทำไทยให้สะอาด” เป็นการทำงานร่วมกับกองทัพเรือ และตาวิเศษ เน้นการรณรงค์ให้คนกรุงเทพฯคัดแยกขยะ แยกขยะ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นทำให้คนในท้องถิ่นมีวัฒนธรรมการทิ้งขยะที่ดี และน้อยลง ส่งผลดีในระยะยาว ถือเป็นจุดเริ่มต้นการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพในอนาคต

รับปริญญาอุดรธานี

เมื่อวันที่ 21-24 ตุลาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ไม่มีการซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ก่อนถึงวันรับจริงในวันที่26ตุลาคม 2557 โดยบรรยากาศอยู่ในทามกลางของการมารอร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ปีการศึกษา2556 โดยมีทั้งผู้ปกครองและเพื่อนมาร่วมยินดี
#รับปริญญาอุดรธานี


วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โครงการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน






โครงการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะต้องเปิดประเทศเข้าสู่ “ประชาคมอาเซียน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของประชากร 600 ล้านคน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในอนาคต ประชาชนของอาเซียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น รวมทั้งระหว่างระบบราชการของไทยกับระบบราชการของประเทศสมาชิกอื่น จะมีการพบปะ เจรจา และประชุมกันมากขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือต่างๆ มากขึ้นในทุกมิติ และภาษาที่จะต้องใช้ในการพบปะ เจรจา และประชุมหารือร่วมกันคือภาษาอังกฤษ ดังนั้น สิ่งที่ภาคราชการไทยจะต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วคือการเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของอาเซียน ประเทศไทยจึงต้องเร่งสร้างบุคลากรให้มีศักยภาพ โดยพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษให้เป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อความหมาย บริหาร และการดำเนินงานของอาเซียน และเป็นเครื่องมือในการติดต่อประสานงานกันภายในภูมิภาค
เพื่อให้การพัฒนาขีดความสามารถในด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษา สามารถรองรับกับสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นการเตรียมความพร้อมกับการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เล็งความเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. การสำรวจเบื้องต้น
- มีงบประมาณไม่เพียงพอ
- การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศไม่ประสบผลสำเร็จ
- จึงทำให้การปฎิบัติงานในหน่วยงานต่างๆเป็นไปได้น้อย
2. วิเคราะห์ความต้องการ
ข้อเด่น
- การให้ข้อมูลข่าวสารครบถ้วน
- ข้อมูลของตำบลมีครอบคลุมในทุกฝ่ายงาน
- มีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน
ข้อด้อย
- ประชากรในตำบลไม่รู้จักช่องทางในการสื่อสาร
- ขาดความรู้ที่เกี่ยวกับสารสนเทศ
3. ออกแบบระบบ
- มีผู้ดูแลระบบสารสนเทศภายในตำบลเพียงคนเดียว
4. จัดหาอุปกรณ์
- Hardware ใช้คอมพิวเตอร์ โน๊คบุ๊ค และสมาร์ทโฟนในการทำงาน
- Software ใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Facebook Twitter และ Blogger
5. ติดตั้งและบำรุงรักษา
- เช็คยอดถูกใจที่หน้าเพจ FacebookและTwitter
- เช็คจำนวนคนเข้าดูที่Blogger

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กีฬาต้านยาเสพติด




การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเนื่องจาก ในปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น   ทำให้ทุกคนต้องขวนขวายทำงานเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ทำให้ไม่มีเวลาออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอลงและหันไปพึ่งพาสิ่งเสพติด    ทำให้มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจทรุดตัวลง สุขภาพเสื่อม สังคมมีปัญหา ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตระหนักในภัยอันตรายที่จะมีใกล้ตัว จึงมีแนวคิดที่จะแสวงหาแนวทางแห่งการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายโดยทั่วกัน                                         องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน   ได้พิจารณาหาแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ   เพื่อจะช่วยทำให้มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์   จิตใจสดชื่นแจ่มใสมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี ชุมชนมีความอบอุ่น  มั่นคงเข้มแข็ง   รวมทั้งเกิดความสุขในครอบครัว สามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีคุณค่าและมีความสงบสุข รวมทั้งเป็นกำลังที่สำคัญของชาติในอนาคตต่อไปและเพื่อให้บรรลุหลักการดังกล่าวข้างต้น องค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง   จึงจัดโครงการแข่งขันกีฬาสร้างสัมพันธ์ ต้านยาเสพติดขึ้น โดยมีคำขวัญสั้นๆ ว่า “สุขภาพดีทั่วหน้า ถ้าหันมา เล่นกีฬา ต้านยาเสพติด”

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การวางแผนกลยุทธ์

การวางแผนกลยุทธ์
1 ภารกิจ
-การส่งเสริมเกษตรกรรม
-การบำรุงรักษา การประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน
-การคุ้มครองรักษา และอำนวยความสะดวกให้กับคนในหมู่บ้าน
-การส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมของคนในหมู่บ้าน
-การพัฒนาแหล่งน้ำและไฟฟ้าเพื่อการเกษตร
2 โครงสร้างขององค์กร
-นาย สุเวทย์ สุวรรณแสง นายกอบต.สามพร้าว
-นายไพโรจน์ หาญเชิงชัย ปลัดอบต.สามพร้าว
-นายบุญเตียง ประกอบวงษ์ รองนายกอบต.สามพร้าว
-นายทองใบ น้อยสีเหลือง รองนายกอบต.สามพร้าว
3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
จุดแข็ง - มีบุคลากรในกรทำงานที่เพียงพอ
- อบต.สามพร้าวมีพื้นที่ในการเข้าถึงคนในหมู่บ้าน
- มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานเป็นสัดส่วน
จุดอ่อน - มีอุปกรณ์ในการปฎิบัติงานไม่เพียงพอ
- ไม่เข้าถึงคนในหมู่บ้าน
ภาวะคุกคาม - การแบ่งงบประมาณไม่เพียงพอต่อการทำงาน
โอกาส - มีการจัดสรรงบประมาณอย่างมีเหตุผล
4 การวิเคราะห์กลยุทธ์ และทางเลือกกลยุทธ์
- อบต.ต้องรับปัญหาจากประชาชนและแก้ปัญหาให้กับคนในหมู่บ้านได้อย่างทันที
5 วัตถุประสงค์
 - เป็รที่พึ่งพาให้กับคนในหมู่บ้านได้
- พัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น
6 แผน
เดือนตุลาคม
- จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้คนในหมู่บ้าน
- พัฒนาปรับปรุงชุมชน
- สร้างความสัมพันธ์กับคนในหมู่บ้าน
- จัดสรรงบประมาณให้ลงตัว
7 นโยบาย 
- พัฒนาด้านสาธารณูปโภค
- พัฒนาคนและสังคม
- พัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
- พัฒนาด้านเศรษฐกิจ
8 การปฎิบัติตามกลยุทธ์
- เริ่มจากการพัฒนาบุคลากรในองค์กรก่อนและก็ไปพัฒนาคนในชุมชน เพื่อที่จะพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติโครงการก่อตั้งวิทยาเขตบ้านสามพร้าว


ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง ระหว่าง ม.ราชภัฏอุดรธานี กับอบต.สามพร้าว เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2547 บนที่ดินสาธารณประโยชน์ พื้นที่ 2,350 ไร่ บริเวณโคกขุมปูน หมู่ที่ 1 บ้านสามพร้าว ต.สามพร้าว อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อพัฒนาสถานที่ของโครงการให้กลายเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยสร้างองค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งของอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Parks) เพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข การแพทย์และพยาบาล การเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ศูนย์ศึกษาพันธุ์ไม้พื้นเมือง เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นที่รองรับการ ศึกษาของคณะ คุรุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยี จาก ม.ราชภัฏอุดร และ ม.ราชภัฏอุดรธานีวิทยาเขตสามพร้าว เตรียมเปิดคณะวิศวกรรม คณะพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ ตามลำดับ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข การแพทย์และพยาบาล และอาคารโรงพยาบาล ขนาด 500 เตียง ให้บริการแก่ท้องถิ่นชุมชน ภายใต้หัวใจหลักของโครงการที่ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีบ้านสามพร้าว ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตออก รับใช้ประเทศชาติ และเพื่อคนอุดรธานี ”

ทั้งนี้ ความก้าวหน้าการก่อสร้างมหาวิทยาลัย ณ ศูนย์การศึกษาสามพร้าว ขณะนี้การก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่แล้วเสร็จกว่า 80% แล้ว ได้แก่ อาคารกลุ่มเทคโนโลยี 6 หลัง พร้อมบ้านพักอาจารย์ และอาคารเรียนรวม อาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหอพักนักศึกษา และ
ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดี กล่าวถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาพื้นที่ล่าสุดว่า “มหาวิทยาลัยฯ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี โดยนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้ช่วยผลักดันโครงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค ไปยังพื้นที่ศูนย์การศึกษา ดำเนินการรังวัดเขตถนน 4 ช่องจราจร จากถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี ไปยังศูนย์การศึกษาสามพร้าว ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา ซึ่งแขวงการทางอุดรธานี สำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี ได้เข้ามาช่วยเหลือ ในการดำเนินงาน ” (ล่าสุดมีโครงการถนนวงแหวนชั้นที่ 2 จากถนนมิตรภาพที่มาจากขอนแก่น ตรง ต.โนนสูง ผ่านสามพร้าว ไปเชื่อมต่อถนนมิตรภาพทางไปหนองคาย ที่ ต.นาข่า )
คนอุดรต่างคนต่างอยากเห็นอุดร มีสถาบันอุดมศึกษา อันขึ้นชื่อเป็นหน้าเป็นตา เป็นแหล่งศึกษาของลูกหลานชาวอุดรอย่างแท้จริง แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือการขยับขยายราชภัฎที่สามพร้าวให้เป็น มหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคต เพราะในตอนนี้มีราชภัฎอุดรได้เป็นผู้เริ่มต้นแล้ว การของบประมาณต่อยอดจากรัฐบาลน่าจะทำได้ง่ายขึ้น โดยให้พี่น้องชาวอุดรร่วมกันผลักดันมหาวิทยาลัยให้เกิดขึ้น ในช่วงแรกอาจจะต้องให้ราชภัฎเป็นพี่เลี้ยงให้ก่อน และยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยอุดรธานี ต่อไปน่าจะทำได้(เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งยกฐานะมาจาก ม.ราชภัฏ )
มรภ.ราชภัฎอุดรธานี และทางท่านนายกหาญชัย และอธิการบดี มรภ.ราชภัฏ ได้กล่าวถึงแนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยในปี 2553 – 2556 ดังนี้
1.ความคืบหน้าจากวีดีทัศน์ ทางมหาวิทยาลัยได้นำเสนอ คือ
- การจัดตั้ง คณะและสาขาวิชาเพิ่มภายในปี 2554-2556 มีดังนี้
จะเปิดหลังมีความพร้อมด้านอาคารเสร็จเรียบร้อยที่ วิทยาเขตสามพร้าวคือ
1.คณะพยาบาลศาสตร์
2.คณะวิศวกรรมศาสตร์
3.คณะแพทยศาสตร์
4.คณะเภสัชศาสตร์
5.คณะทันตะแพทยศาสตร์
- การแยกสาขาวิชา และคณะที่มีความทับซ้อนกันกับที่ มรภ.เก่าในตัวเมือง เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สาธารณะสุข ศิลปกรรมศาตร์ รวมไปถึงสาขาวิชาอื่นๆอีก
โดยโครงการที่ร่วมกับ อบจ. ก็คือการจัดสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์
*** ข้อมูลทั้งหมดผมได้รับฟังจากวีดีทัศน์และคำพูดท่านอธิการบดี มรภ.อุดร และท่านนายกหาญชัย โดยทั้ง 2 ท่านบอกว่า การจัดตั้งและโครงการต่างๆจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับคนในท้องถิ่น ซึ่งทั้งนี้ได้ตั้งเป้าไว้ว่า น่าจะภายในปี 2556 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแบ่งส่วนอาคารและสถานที่เพิ่มเติมใน มรภ. สามพร้าว และจะไม่มีการยุบ มรภ.อุดรธานี แต่จะมีการอุปภัมภ์เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ขึ้นมา แต่มีรูปแบบการบริหารโดย มรภ.และมหาลัยใหม่ทั้ง 2 เข้าด้วยกัน


ระบบสาธารณูปโภค และในปีการศึกษา 2553 นี้ จะเริ่มเปิดให้บริการ โดยนำนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวนกว่า 2,000 คน มาทำการเรียนการสอน ณ ศูนย์สามพร้าวเป็นรุ่นแรก

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงการสามพร้าวตำบลต้นแบบ พัฒนาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน

ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวได้จัดกิจกรรมเ ตามโครงการสามพร้าวตำบลต้นแบบพัฒนาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลสามพร้าวได้มีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้และส่งเสริมเยาวชน ประชาชนได้จัดกิจกรรมที่มีประโยชน์ทำให้ห่างไกลยาเสพติด สร้างความตระหนักให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ด้วยจิตอาสาเพื่อขจัดวัชพืชและผักตบชวาที่กีดขวางการไหลของน้ำในลำห้วยหลวงและเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน   ความต้องการของประชาชนในเขตตำบลสามพร้าว  และเพื่อให้เยาวชนในเขตพื้นที่ตำบลสามพร้าวได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  ณ  บริเวณที่สาธารณะประโยชน์หนองบ่อใหญ่ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี 


วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

โรงเรียนสามพร้าววิทยากับกิจกรรมดีๆ


โรงเรียนสามพร้าววิทยาได้จัดโครงการวิชาการครั้ง5 โดยภายในงานได้มีกิจกรรมต่างๆที่น่าใจสนและยังมีเนื้อหาสอดคล้องกันการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน2558 และได้รับความสนใจจากผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปมาเข้าชมงานกันอย่างล้นหลาม
 


วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ถวายทอดผ้าป่าโรงเรียนชุมชนสามพร้าว




เมื่อวันที่5กันยายนที่ผ่านมา โรงเรียนชุนชนสามพร้าวได้ร่วมใจทอดถวายผ้าป่าเพื่อการศึกษา เพื่อก่อสร้างศูนย์การเรียนระดับอนุบาล ขนาด5ห้องเรียน
โดยมีการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างผู้ปกครอง ครู และบุคคลในชุมชนนั้น โดยผ้าป่ากองละ99 บาท

และบ้านสามพร้าวมีกิจกรรมอะไรอีก ติดตามกันต่อไปด้วยนะค่ะ

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ความเป็นมาของบ้านสามพร้าว



บ้านสามพร้าว





ประวัติความเป็นมาองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว 
               ตำบลสามพร้าว เปลี่ยนแปลงชื่อจากตำบลหนองบุมาเป็นตำบลสามพร้าวและได้ประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงตำบลในท้องที่อำเภอเมือง อุดรธานี  เมื่อวันที่  6 ตุลาคม 2513 ในขณะนั้นมีเขตการปกครองจำนวน  8  หมู่บ้าน ดังนี้ 
            หมู่ที่  1  บ้านสามพร้าว เดิม คือ หมู่ที่  11 
            หมู่ที่  2  บ้านสามพร้าว  เดิม คือ หมู่ที่  2 
            หมู่ที่  3 บ้านหนองบุ  เดิม คือ หมู่ที่  3 
            หมู่ที่ 4 บ้านดอนหาด  เดิมคือ หมู่ที่ 4 
            หมู่ที่  5 บ้านหนองนาหล่ำ เดิมคือ หมู่ที่  5 
            หมู่ที่ 6 บ้านนาหนยาด   เดิมคือ หมู่ที่  1 
            หมู่ที่ 7 บ้านหนองบั่ว  เดิมคือ หมู่ที่  17 
            หมู่ที 8 บ้านหนองคอนแสน เดิมคือ หมู่ที่  15 
                เหตุที่ชื่อตำบลหรือชื่อหมู่บ้านซึ่งมีนามว่า  สามพร้าว เพราะเพี้ยนมาจากคำว่า สามท้าว ซึ่งคนโบรารณมีความเชื่อว่าคำว่า “ท้าว” เป็นของต่ำเลยเปลี่ยนเป็นพร้าวแทน ( ข้อมูลจากแผนชุมชนบ้านสามพร้าว หมู่ที่  1 ) 2. ข้อมูลจาก รูปบั้นในวัดบ้านสามพร้าว และ ท่านพระปลัดไวพจน์  วรธมโม(ในขณะนั้น)  เจ้าอาวาสวัดสามพร้าว ระบุว่า บ้านสามพร้าว สร้างเมื่อปี พ.ศ.2320 เดิมเรียกว่า  “บ้านสามท้าว” ซึ่งหมายถึง ชายหนุ่มสามคน  โดยชายสามคนนี้ล้วนมากจากที่ต่างๆ กัน มี 1.ท้าวหนูพันธ์  มาจากอุบลราชธานี          2. ท้าวขาช้าง  มาจากบ้านเชียง อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี  3.ท้าวคอก่อย มาจากเวียงจันทร์  ประเทศลาว  โดยนำช้างเชือกหนึ่งมาด้วยเป็นเพศตัวเมียชื่อพังวงศ์ ต่อมาได้ขุดบ่อน้ำขึ้น 2 บ่อ ซึ่งภาษาอิสานเรียกว่า ส้าง  คือ ส้างคำ และส้างบก ซึ่งคนในหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน  และเมื่อต่อมาเมื่อช้างพังวงศ์ใช้งานลากไม้ลากชุงประกอบกับอายุมากได้ล้มลงขณะที่มาถึงหนองน้ำที่หนองหนึ่งใกล้หมู่บ้าน ซึ่งหนองน้ำแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า หนองวงศ์ เป็นหนองน้ำที่มีน้ำใช้ตลอดปี ปัจจุบันอยู่ในวัดบ้านสามพร้าว3. ข้อมูลจาก  นายสวน  จันดาหาร อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านสามพร้าว  หมู่ที่ 2 ให้ข้อมูลว่า  “ บ้านสามพร้าว ” ประกอบด้วยกลุ่มคน  3 กลุ่ม  คือ 1. อพยพมาจากลาวพวนจังหวัดชัยภูมิ มีอาชีพเป็น ช่างตีสร้อยตีแหวน  , ทำกำไร  2. อพยพมาจากอำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัด  ยโสธร  มีอาชีพเป็นพ่อค้าวัว ควายและ 3. อพยพมาจากหลวงพระบางประเทศลาว กลุ่มนี้ได้นำช้างมา 1 เชือก  เรียกว่า ช้างพังวงศ์  จึงตั้งชื่อว่าบ้านสามท้าว  และเปลี่ยนชื่อเป็น สามพร้าว