บ้านสามพร้าว
ตำบลสามพร้าว เปลี่ยนแปลงชื่อจากตำบลหนองบุมาเป็นตำบลสามพร้าวและได้ประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงตำบลในท้องที่อำเภอเมือง อุดรธานี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2513 ในขณะนั้นมีเขตการปกครองจำนวน 8 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านสามพร้าว เดิม คือ หมู่ที่ 11
หมู่ที่ 2 บ้านสามพร้าว เดิม คือ หมู่ที่ 2
หมู่ที่ 3 บ้านหนองบุ เดิม คือ หมู่ที่ 3
หมู่ที่ 4 บ้านดอนหาด เดิมคือ หมู่ที่ 4
หมู่ที่ 5 บ้านหนองนาหล่ำ เดิมคือ หมู่ที่ 5
หมู่ที่ 6 บ้านนาหนยาด เดิมคือ หมู่ที่ 1
หมู่ที่ 7 บ้านหนองบั่ว เดิมคือ หมู่ที่ 17
หมู่ที 8 บ้านหนองคอนแสน เดิมคือ หมู่ที่ 15
เหตุที่ชื่อตำบลหรือชื่อหมู่บ้านซึ่งมีนามว่า สามพร้าว เพราะเพี้ยนมาจากคำว่า สามท้าว ซึ่งคนโบรารณมีความเชื่อว่าคำว่า “ท้าว” เป็นของต่ำเลยเปลี่ยนเป็นพร้าวแทน ( ข้อมูลจากแผนชุมชนบ้านสามพร้าว หมู่ที่ 1 ) 2. ข้อมูลจาก รูปบั้นในวัดบ้านสามพร้าว และ ท่านพระปลัดไวพจน์ วรธมโม(ในขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดสามพร้าว ระบุว่า บ้านสามพร้าว สร้างเมื่อปี พ.ศ.2320 เดิมเรียกว่า “บ้านสามท้าว” ซึ่งหมายถึง ชายหนุ่มสามคน โดยชายสามคนนี้ล้วนมากจากที่ต่างๆ กัน มี 1.ท้าวหนูพันธ์ มาจากอุบลราชธานี 2. ท้าวขาช้าง มาจากบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 3.ท้าวคอก่อย มาจากเวียงจันทร์ ประเทศลาว โดยนำช้างเชือกหนึ่งมาด้วยเป็นเพศตัวเมียชื่อพังวงศ์ ต่อมาได้ขุดบ่อน้ำขึ้น 2 บ่อ ซึ่งภาษาอิสานเรียกว่า ส้าง คือ ส้างคำ และส้างบก ซึ่งคนในหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน และเมื่อต่อมาเมื่อช้างพังวงศ์ใช้งานลากไม้ลากชุงประกอบกับอายุมากได้ล้มลงขณะที่มาถึงหนองน้ำที่หนองหนึ่งใกล้หมู่บ้าน ซึ่งหนองน้ำแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า หนองวงศ์ เป็นหนองน้ำที่มีน้ำใช้ตลอดปี ปัจจุบันอยู่ในวัดบ้านสามพร้าว3. ข้อมูลจาก นายสวน จันดาหาร อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านสามพร้าว หมู่ที่ 2 ให้ข้อมูลว่า “ บ้านสามพร้าว ” ประกอบด้วยกลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ 1. อพยพมาจากลาวพวนจังหวัดชัยภูมิ มีอาชีพเป็น ช่างตีสร้อยตีแหวน , ทำกำไร 2. อพยพมาจากอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัด ยโสธร มีอาชีพเป็นพ่อค้าวัว ควายและ 3. อพยพมาจากหลวงพระบางประเทศลาว กลุ่มนี้ได้นำช้างมา 1 เชือก เรียกว่า ช้างพังวงศ์ จึงตั้งชื่อว่าบ้านสามท้าว และเปลี่ยนชื่อเป็น สามพร้าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น